Contact :
0 2319 7677
|
Member Login
|
Register
| Contact :
0 2319 7677
|
Member Login
|
Register
TH
EN
MENU
Home
Management Development Partner
Events
Events
Conference / Seminar
Competitiveness
Membership
Membership
Apply New Member
Privileges and Fee
Member Activities
Our Members
Research & Consulting Services
Research & Consulting Services
Consulting Service
Research / Survey
Reports
Our Clients
Awards
Site Visits & Trips
Management Groups
Management Groups
Corporate Performance Management Group
Marketing Management Group
Operational Excellence Management Group
People Development Group
Technology Innovation Management Group
Digital Technology Management Group
About Us
About Us
Mission & Vision
TMA Board Of Trustees
TMA Council
Organization Chart
CSR
CSR
Scholarship Project
News
News
TMA in the News
Other News
TMA Press Releases
Past Activities
Article Sharing
TMA Magazine
Facilities Services
Join Us
Contact Us
กรุณากรอกข้อมูลเพื่ออ่านบทความเพิ่มเติม
TMA
- กรุณาเลือกตำแหน่ง -
C-Level/SVP
VP/Director
Manager
Officer
- กรุณาเลือกแผนก/ฝ่าย -
Accounting & Finance
Business Development
Communications
Customer services
HR
IT
Legal
Marketing
Overall Management
Purchasing and Procurement
R&D/ Innovation
Sales
Others
ลงชื่อเข้าใช้
TMA
NEWS
Thailand Management Association
News
Article Sharing
การบรรยายพิเศษ Technologies that Harness Local Wisdom
การบรรยายพิเศษ Technologies that Harness Local Wisdom
การบรรยายพิเศษ Technologies that Harness Local Wisdom
29 ตุลาคม 2561 12:03 น.
การบรรยายพิเศษ Technologies that Harness Local Wisdom
คุณนาวี นาควัชระ
กรรมการผู้จัดการ
บริษัท นวัตกรรมชาวบ้าน จำกัด
----------------------
ภูมิปัญญาชาวบ้านไม่ใช่การคิดใหญ่หรือคิดเล็ก แต่เป็นการคิดให้พอดีกับการแก้ปัญหาในชีวิตคน โดยอาศัยการสังเกตธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมรอบตัว เมื่อโลกมีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้น ชาวนาแบบดั่งเดิมแทบจะไม่เหลืออยู่แล้ว เกษตรกรหลายคนมีรายได้อื่นนอกจากการทำนา มีความเป็นผู้ประกอบการมากขึ้น แล้วนวัตกรรมต่างๆ จะอยู่ร่วมกับภูมิปัญญาชาวบ้าน และจะส่งเสริมกันได้อย่างไร
ในการบรรยายเรื่อง “Technologies that Harness Local Wisdom” ภายในงาน “Global Business Dialogue 2018 : Innovating for Sustainable Future” คุณนาวี นาควัชระ กรรมการผู้จัดการ บริษัท นวัตกรรมชาวบ้าน จำกัด ได้เล่าถึงการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่าง “ผี” กับเรื่องของการเกษตรและภูมิปัญญาชาวบ้านว่า ชาวบ้านในชนบทแต่ละท้องถิ่นจะมี “ผีฟ้า” หรือ “พญาแถน” ผู้ให้เมล็ดพันธุ์ข้าวและทำให้เกิดฝน ซึ่งต้องอาศัยพญานาคขึ้นไปเล่นน้ำเพื่อที่จะทำให้ฝนตก เมื่อต้องการฝน ชาวบ้านก็จะนำพญานาคติดบั้งไฟแล้วยิงขึ้นไป ถึงแม้ว่าชาวบ้านเองจะเข้าใจว่าวิธีการนี้เอาแน่เอานอนไม่ได้และบางพื้นที่ก็เลิกประเพณีนี้แล้ว แต่สำหรับบางคนประเพณีการยิงบั้งไฟก็ได้เปลี่ยนความหมายจากการขอฝนมาเป็นกิจกรรมที่จะรวมสมาชิกครอบครัวเข้าไว้ด้วยกัน ทีนี้เมื่อวิธีที่ทำมาแต่โบราณไม่สามารถพึ่งพาได้ ชาวบ้านก็ต้องเปลี่ยนวิธี โดยการหันไปสังเกตสัตว์, ต้นไม้และแมลงเพื่อพยากรณ์สภาพอากาศ เรียกได้ว่าชาวบ้านเริ่ม “disrupt ผี” ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น ถึงแม้ผลที่ได้จะไม่ 100% แต่ก็ช่วยให้เกษตรกรวางแผนการทำงานได้ดีขึ้น
คุณนาวียังได้ยกตัวอย่างการอยู่ร่วมกันของภูมิปัญญาชาวบ้านและนวัตกรรมจากการแปรรูปข้าว ซึ่งเกษตรกรสามารถแปรรูปข้าวเป็นอาหารอย่างอื่นได้ เช่น เส้นหมี่ ขนม น้ำมันรำข้าว แป้งทาผิว แต่นอกจากสิ่งเหล่านี้แล้ว ยังมีนวัตกรรมที่ทำให้ข้าวสามารถช่วยยืดอายุการเก็บรักษาไข่ไก่เพื่อเพิ่มความสะดวกในการขนส่งจากเกษตรกรถึงผู้บริโภคได้อีกด้วย นั่นก็คือการนำข้าวมาทำเป็นสารเคลือบผิวไข่ไก่
ไข่ไก่ปกติหากไม่ได้ควบคุมความเย็นจะมีอายุอยู่ได้ 2-3 สัปดาห์ โดยปกติแล้วภูมิปัญญาชาวบ้านของเกษตรกรในการยืดอายุไข่ไก่ให้นานที่สุดคือการไม่ล้างไข่ไก่ เนื่องจากการล้างจะทำให้ไข่เสียง่าย เกษตรกรแก้ปัญหาการเปื้อนสิ่งสกปรกที่เปลือกไข่ด้วยการออกแบบกรงไก่และรางไข่ที่แยกออกมา ในอุตสาหกรรมใหญ่ๆ จะใช้คลอรีนเป็นสารช่วยฆ่าเชื้อ salmonella และใช้เทคโนโลยีห้องเย็นเพื่อควบคุมความเย็นตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง ซึ่งระบบทำความเย็นนั้นเป็นสิ่งที่ลงทุนสูงและสิ้นเปลืองมาก ทำให้ไม่สามารถเอามาใช้งานกับชุมชนได้ ดังนั้นทางเลือกที่เหมาะสมก็คือการเคลือบผิวไข่ไก่ โดยสารเคลือบในช่วงแรกนั้นจะใช้ปิโตรเลียมแว็กซ์แต่ก็มีความไม่เหมาะสมกับไข่ไก่เนื่องจากแว็กซ์จะให้ผิวที่มันวาวเหมือนไข่ที่ไม่สด จึงได้มีการพัฒนาสารเคลือบไข่ไก่ขึ้นมาโดยเฉพาะเพื่อคงความสดเอาไว้โดยไม่ต้องใช้ตู้เย็น ส่งผลให้สามารถทำงานกับชุมชนที่มีเกษตรกรอยู่กระจายเป็นสิบๆ กิโลเมตรได้ง่ายขึ้นและยังลดการใช้พลังงานอีกด้วย นอกจากไข่ไก่แล้ว ยังมีการวิจัยสารเคลือบผิวชนิดต่างๆ สำหรับผลผลิตทางการเกษตรชนิดอื่นๆ เช่น ผักและผลไม้ อีกด้วย
คุณนาวี ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ความเชื่อดั่งเดิม, ภูมิปัญญาท้องถิ่นและนวัตกรรม สามสิ่งนี้ล้วนมีความสัมพันธ์ต่อกันและแยกออกจากกันไม่ได้ ความเชื่อหรือเรื่องเล่าช่วยให้เราได้รู้ถึงที่มาที่ไปของชุมชนและภูมิปัญญาที่เกิดขึ้นมา ตัวภูมิปัญญาเองก็สะท้อนให้เห็นถึงวิธีคิดในการแก้ไขปัญหา เหมือนเป็นวัตถุดิบหรือ raw material ส่วนนวัตกรรมก็เป็น processing หรือการพัฒนาแปรรูปภูมิปัญญา ต่อยอดสิ่งที่มีอยู่และส่งต่อให้กว้างข้างออกไปอย่างไร้ขีดจำกัด ทำให้เกิดคุณค่าและมูลค่า ทั้งนี้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำ แก้ปัญหาความยากจนจะต้องเป็นนวัตกรรมและเทคโลโนยีที่พอดีกับการแก้ไขปัญหาในชีวิตคน ไม่มากเกินไปไม่น้อยเกินไป ความพอดีนั้นมาจากความเข้าใจอย่างถ่องแท้ของปัญหา ความต้องการของคน ศักยภาพของคน และต้องรู้ว่าความสุขของคนอยู่ที่ตรงไหน แล้วเราก็จะได้นวัตกรรมที่ช่วยแก้ปัญหาได้
ดูข่าวสารทั้งหมด
สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย TMA ใช้คุกกี้เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์ที่ดี
หากคุณยังคงใช้งานบนเว็บไซต์ เราถือว่าคุณยอมรับ
นโยบายการใช้คุกกี้ ( Cookie Policy )
ยอมรับ