top of page

IMD World Talent Report 2016


ในการจัดอันดับในรายงาน IMD World Talent Report นั้น สถาบัน IMD ใช้ตัวชี้วัดทั้งหมด 30 ตัวชี้วัดซึ่งแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มได้แก่ 1.ด้านการลงทุนและการพัฒนา (Investment and Development) มี 8 ตัวชี้วัด 2.การดึงดูดบุคลากรที่มีความสามารถ (Appeal) มี 10 ตัวชี้วัด และ 3.ความพร้อมด้านบุคลากร (Readiness) มี 12 ตัวชี้วัด และในปี 2016 นี้ เขตเศรษฐกิจที่มีคะแนนสูงสุด 10 อันดับได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ เดนมาร์ก เบลเยี่ยม สวีเดน เนเธอร์แลนด์ ฟินแลนด์ นอร์เวย์ ออสเตรีย ลัคเซมเบิร์ก และฮ่องกง (Figure 1) โดยมีถึง 9 ประเทศที่มาจากกลุ่มสหภาพยุโรป มีเพียงฮ่องกงเพียงเขตเศรษฐกิจเดียวที่มาจากกลุ่มเอเชียตะวันออกและแปซิฟิค



สำหรับประเทศไทยในปี 2016 นั้นได้คะแนนเป็นอันดับที่ 37 ตกลงมา 3 อันดับจากปี 2015 ที่ได้อันดับที่ 34 (Figure 2) และหากเปรียบเทียบกับประเทศในภูมิภาคอาเซียนอีก 4 ประเทศ (สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์) แล้ว ประเทศไทยมีคะแนนเป็นอันดับที่ 3 รองจากประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย สอดคล้องกับอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในรายงาน IMD World Competitiveness Yearbook 2016 โดยกลุ่มปัจจัยที่ประเทศไทยทำคะแนนได้สูงที่สุดคือด้านการดึงดูดบุคลากรที่มีความสามารถ ซึ่งประเทศไทยได้คะแนน 64.9/100 อยู่ในอันดับที่ 24 (ดีขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่ได้ 54.5 คะแนนและอยู่ในอันดับที่ 25) และเป็นที่น่าสนใจว่าปัจจัยที่ประเทศได้คะแนนและอันดับดีที่สุดในปีนี้ต่างจากปีที่ผ่านมา เนื่องจากในปีที่ผ่านมานั้น ประเทศได้คะแนนสูงที่สุดในด้านการลงทุนและการพัฒนาที่ได้ 67.8 คะแนนและอยู่ในอันดับที่ 19 แต่ในปีนี้กลับมีเพียง 56.2 คะแนนและได้อันดับที่ 42 ซึ่งประเทศจำเป็นที่จะต้องเร่งผลิตครูให้มากขึ้นเพื่อปรับปรุงอัตราจำนวนนักเรียนต่อครูในน้อยลง อย่างไรก็ตาม ด้านความพร้อมด้านบุคลากรเป็นสิ่งที่ประเทศต้องปรับปรุงพัฒนามากที่สุดเนื่องจากเป็นปัจจัยที่มีคะแนน (46.7 คะแนน) และอันดับน้อยที่สุด (อันดับที่ 49) ติดต่อกันมาแล้ว 2 ปีและมีคะแนนน้อยที่สุดใน 5 ประเทศอาเซียน โดยในกลุ่มปัจจัยนี้ ประเทศจำเป็นที่จะต้องเร่งพัฒนาวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนพร้อมทักษะด้านภาษาเป็นสำคัญ


อ่านบทวิเคราะห์เพิ่มเติม คลิ๊กที่ ชื่อด้านล่าง

ดู 13 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comentarios


bottom of page