Digital Transformation Forum 2022
Digital Transformation Forum 2022
Digital Transformation Forum 2022 โดย TMA ได้รับความกรุณาจาก ศาตราจารย์ พิเศษ วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้กล่าวเปิดงาน Digital Transformation Forum 2022 ภายใต้หัวข้อ Thailand Driving Digital Nation ภาครัฐมีหน้าที่หลักในการสร้าง Digital Infrastructure โดยจำเป็นต้องมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วนคือ
1. Safe and Secure ภาคเอกชนและภาครัฐต้องได้รับความมั่นใจเรื่องความปลอดภัยสูงสุดด้านการทำงานบนระบบดิจิทัล
2. Inclusive ภาครัฐต้องสร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึง Digital Infrastructure ให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศอย่างเท่าเทียม
3. Reasonably Affordable ภาครัฐต้องกำกับดูแลให้มีความเสมอภาคในการเข้าถึง Digital Infrastructure ให้ทุกภาคส่วนได้รับประโยชน์และมีค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม
ในหัวข้อ So, What’s the plan for Digital Transformation?
เทคโนโลยีดิจิทัล ที่เข้ามาขับเคลื่อนธุรกิจในอนาคตต มี 4 ประเด็นสำคัญ 1) Vision & Mission 2) Mindset 3) ESGs 4) Collaboration โดย TMA Digital Technology Management Group แต่ละท่านได้ให้แนวคิด ดังนี้
📌ดร.กำพล ศรธนะรัตน์ ที่ปรึกษาด้าน Digital transformation และเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) กล่าวว่า Digital transformation คือการ transform องค์กรด้วยดิจิทัล ทั้งนี้องค์กรต้องมีความชัดเจนในการดำเนินงาน Process (Reprocess/ Way of doing),People, Technology (Traditional technology/ New innovation & technology) เป็นองค์ประกอบที่ช่วยให้สามารถขับเคลื่อนองค์กรให้สำเร็จตามที่องค์กรตั้งภารกิจและวิสัยทัศน์ไว้ ทั้งนี้เรื่อง ESGs (Environment, Social and Governance)
📌ดร.ลิสา พัทธ์วิวัฒน์ศิริ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ปฏิบัติการและเทคโนโลยีสารสนเทศ บริษัท ไทยกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ได้ให้ความเห็นว่า Digital Transformation เป็นการปลดล็อคศักยภาพขององค์กรโดยการเพิ่มมูลค่าแบบก้าวกระโดด ซึ่ง Digital Transformation ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ 1) Process เป็นการปรับรื้อระบบ (Re-engineering process) 2) Platform และ 3) People เป็นการปรับ mindset
📌ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภูมิพร ธรรมสถิตเดช ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำหลักสูตรปริญญาตรี นวัตกรรม และการแปรรูปทางดิจิทัล วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระบุว่า ภาคการศึกษาพยายามสร้างกรอบความคิด (mindset) เพื่อให้นักศึกษารู้ว่าจะเจอกับอะไรในอนาคต ทั้งนี้ทักษะเฉพาะทางเป็นสิ่งที่สามารถเปลี่ยนได้ตลอดเวลา แต่ทักษะที่สำคัญต้องเรียนรู้ คือ ทักษะการจัดการ (Management skill)
📌คุณโสจิพรรณ วัชโรบล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ดาต้าวัน เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ในช่วงวิกฤตโควิด 19 เกิดความท้าทายเรื่องภาวะการขาดแคลนซัพพลาย (Supply shortage) ประกอบกับสภาพแวดล้อมการทำธุรกิจที่เปลี่ยนแปลง รวมไปถึงเรื่องแนวคิด ESG ที่เกิดและได้รับความนิยมขึ้นมา ส่งผลให้ทุกองค์กรต้องปรับตัว แนวคิดในการดำเนินธุรกิจต้องเปลี่ยนไป ต้องมีทรัพยากรจากหลายแหล่ง (Multisource) รวมไปถึงการสื่อสารภายในองค์กรเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้พนักงานได้ทราบว่าองค์กรจะมุ่งไปทางนั้นและได้เตรียมความพร้อม โดยกรอบความคิดของผู้ประกอบการจะเปลี่ยนไปเมื่อดิจิทัลเข้ามาและทุกอย่างง่ายขึ้นเพียงแค่ปลายนิ้ว
ในหัวข้อ Digital Organization : What to Know before You Dive into the Unknow
Mr. Benjamin Fingerle, Managing Director and Partner จาก Boston Consulting Group (BCG) อธิบายว่า Digital Transformation ขององค์กรไทยอยู่ในขั้นเริ่มต้น โดยบริษัทที่ประสบความสำเร็จในการทำ Digital transformation นั้น ต้องมีความชัดเจนในเรื่องของ “Strategy & Purpose” และต้องระดับและดึงศักยภาพของ “Human + Technology” ออกมาใช้ได้อย่างสมบูรณ์ เพื่อสามารถเกิดผลลัพธ์สูงสุดต่อธุรกิจ ดังนั้นองค์กรต่าง ๆ ในไทย ควรเพิ่มการลงทุนด้านดิจิทัล และที่สำคัญที่สุดคือ การลงทุนในการพัฒนาทักษะทางดิจิทัลให้แก่บุคลากร
ในหัวข้อ The Real Journey of Digital Excellence
TMA ขอแสดงความยินดีกับผู้ชนะจาก Thailand Digital Excellence Awards 2022 อีกครั้ง และในวันนี้ภายในงาน Digital Transformation Forum 2022 มีตัวแทนจากทั้ง 5 องค์กรได้ร่วมกันแบ่งปันประสบการณ์ ที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จทานด้าน Digital Transformation
📍คุณเดวิด จูว CEO บริษัท โพเมโล แฟชั่น จำกัด กล่าวว่า จากประสบการณ์เห็นว่า COVID-19 ถือเป็นตัวเร่งสำคัญโดยเฉพาะต่อ Retail Industry ในการปรับตัวสู่ดิจิทัล คุณเดวิท มองว่า การสรรหาคนที่ใช่ (Right People) น่าจะง่ายกว่า ที่สำคัญคือการเปิดโอกาสให้พนักงานได้ทดลองและกล้าที่จะล้มเหลว
📍คุณอภิรัตน์ หวานชะเอม Chief Digital Officer, บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด กล่าวว่า การทำ Digital transformation ได้สำเร็จคือ การมี Right People ในองค์กร โดยองค์กรต้องรู้ว่า Digital Talent แบบไหนที่ต้องการ
📍คุณนิดารัตน์ อุไรเลิศประเสริฐ Southeast Asia Home Care Data Lead & Data Head for Thailand, Malaysia, and Singapore บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จำกัด กล่าวว่า สำหรับเรื่องพัฒนาบุคลากร มองว่า ทักษะการแก้ไขปัญหา (Problem Solving Skill) รวมถึงการมี Growth Mindset
📍คุณฉัตรชัย อุณหโภคา รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ฝ่าย Strategy, JV and Channel Management บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด (CRG) ให้ความเห็นว่า Digital Talent ส่วนใหญ่ มักจะเลือกอุตสาหกรรมเด่น ๆ ไปทำงานด้วย โดย Sector อาหารไม่ถือเป็นอุตสาหกรรมที่ Digital Talent เลือกจะเข้ามาร่วมงานเท่าไร ทำให้ต้องเลือกที่จะ Reskill และ Upskill บุคลากรที่มีอยู่ในปัจจุบันให้มีศักยภาพด้านดิจิทัลสูงขึ้น
📍คุณอุกฤษฏ์ ตั้งสืบกุล CO-Founder & CO-CEO, บริษัท เรียล สมาร์ท จำกัด แบ่งปันประสบการณ์ว่า Digital Talent จะถูกดึงดูดด้วยวัฒนธรรมองค์กร (Culture), วิสัยทัศน์ (Vision) และพันธกิจ (Mission) ที่ Digital Talent จะเชื่อมั่นร่วมกันว่า จะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาขับเคลื่อนองค์กร และพยายามส่งเสริมพนักงานให้ใช้ Critical Thinking อยู่ตลอด
ดำเนินการอภิปรายโดย Mr. Benjamin Fingerle
Managing Director and Partner - Boston Consulting Group (BCG)
และ คุณรชฎ อิศรางกูร ณ อยุธยา
Former Executive Director, E-Business Strategy
Finansia Syrus Securities Public Company Limited
และอนุกรรมการกลุ่ม Digital Technology Management Group
ในหัวข้อ CEO’s Commitment of Organization Transformation
ผู้บริหารระดับสูง 3 องค์กรชั้นนำจาก โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์, บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ได้ให้เกียรติมาแบ่งปันมุมมองและวิสัยทัศน์ในฐานะที่เป็นผู้นำขององค์กร
💡คุณอาทิรัตน์ จารุกิจพิพัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำ Digital transformation คือ 1) กลยุทธ์ (Strategy) 2) องค์กร (Organization) และ 3) เทคโนโลยี (Technology) อย่างไรก็ตามคุณอาทิรัตน์ มองว่า People transformation คือสิ่งสำคัญที่สุด
💡ดร.ชวพล จริยาวิโรจน์ กรรมการผู้จัดการบริษัท บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด เล่าว่า เทคโนโลยีดิจิทัลมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดังนั้น หัวเว่ย ซึ่งเป็น Tech company ต้องเป็น Enabler เพราะเทคโนโลยีเป็น S-curve ที่เปลี่ยนแปลงไปเร็วมาก ต้องการโครงสร้างพื้นฐานแบบกระจาย (Distributed Infrastructure) นอกจากนี้ ดร.ชวพลยังมองว่าสิ่งที่หัวเว่ย จำเป็นต้องมี คือ 1) Technical capabilities 2) People Skills ต้องเปลี่ยนกรอบความคิด (Mindset)
💡คุณธนพล ศิริธนชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (Country CEO) บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงมี 3 ประการ คือ 1) ลูกค้าเปลี่ยนและมีความต้องการ 2) ความจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยให้ระบบทำได้เร็วขึ้นสะดวกขึ้น และ 3) การพัฒนาให้สามารถแข่งขันได้กับต่างประเทศ ทั้งนี้ คุณธนพล มองว่าหน้าที่ของ CEO คือ เข้าใจ เห็นใจ และให้กำลังใจ คุณธนพลยังได้ทิ้งท้ายว่า Digital Transformation เป็น Journey ที่ไม่สามารถเสร็จในครั้งเดียว โดยสิ่งที่ท้าทายและยากที่สุดคือ Mindset Transformation
ในหัวข้อ Grooming Digital Talent, Building Digital Culture
ตัวแทนจากภาคการศึกษาและภาคเอกชนได้ให้มุมมอง ได้อย่างน่าสนใจ
👤ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ปัจจุบันภาคการศึกษาเน้นเรื่องของการเรียนรู้ (Learning) มากกว่า Degree และเน้น Partnership) ยังมองว่า แพลตฟอร์มตัวกลางอย่าง LinkedIn จะสามารถบอกได้ว่า ตลาดต้องการคนแบบไหน ซึ่งหากมหาวิทยาลัยได้ข้อมูลเหล่านี้ ก็สามารถนำมาพัฒนานักศึกษาให้มีคุณสมบัติตอบโจทย์ตลาดแรงงานได้
👤คุณวิศน สุนทราจารย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านกลยุทธ์องค์กรและความยั่งยืน บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (PTTOR) เล่าว่าจากประสบการณ์พบว่า น้อง ๆ ที่จบใหม่ เรื่อง Hard skills ไม่มีปัญหา แต่ Soft skills เช่น Business view อาจจะยังไม่มี รวมถึง Communication skills พบว่า ตลาดของ Digital Talent มีอัตราการลาออกค่อนข้างสูงเพราะมักจะมีคนดึงตัวไป โดยให้ค่าตอบแทนสูงกว่า แต่หากองค์กรมีการสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มี Work life balance ตอบโจทย์ Talent รวมถึงเนื้องานที่มีคุณค่าและท้าทาย (Challenge)
👤คุณภัทรเศรษฐ์ หนุนภักดี Country Team Lead, LinkedIn แบ่งปันว่าโดยจากประสบการณ์ เมื่อ Talent เรียนรู้องค์ความรู้ในองค์กรครบทุกอย่าง ก็จะมีคนดึงตัวไป ดังนั้น องค์กรจำเป็นต้องสร้าง Talent Ecosystem มีระบบ Retaining Employee มีการสร้าง Employer Brand ให้แข็งแรง ทั้งนี้ มองว่า Positive thinking และ Change management มีความสำคัญต่อการปรับตัวต่าง ๆ รวมถึงเรื่องของการสื่อสาร (Communication) ที่ควรส่งเสริมให้บุคลากร
ดำเนินการอภิปรายโดย คุณศิรินุช ศรารัชต์
Principal Partner Development - Worldwide Public Sector
บริษัท อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด และอนุกรรมการกลุ่ม Digital Technology Management Group
ในหัวข้อ Data Governance is Your Winning Weapon
ได้รับเกียรติจากผู้บริหารภาคเอกชนในฐานะที่ใช้ข้อมูลและรักษาข้อมูล และภาครัฐในฐานะที่เป็นผู้ควบคุมกับดูแลการใช้และความปลอดภัยของข้อมูล มาให้แลกเปลี่ยนความรู้
📍คุณนิดารัตน์ อุไรเลิศประเสริฐ Southeast Asia Home Care Data Lead & Data Head for Thailand, Malaysia, and Singapore บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จำกัด กล่าวว่า ยูนิลีเวอร์มีกระบวนการทำ Data Decentralization คือ 1) เก็บข้อมูล 2) ทำให้ข้อมูลเป็นภาษาเดียวกัน 3) แต่ละฝ่ายสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้แบบ Right Consumer-Right Content-Right Time-Right Format แต่ทั้งนี้ก็ยังให้ความสำคัญกับการสร้างความเป็นส่วนตัวของข้อมูล (Data Privacy) ทั้งเรื่องของ 1) การได้รับความยินยอมจากลูกค้า 2) ทุกฝ่ายในองค์กรเห็นความสำคัญ 3) มี DPO (Data Privacy Officer)
📍พลเอกปรัชญา เฉลิมวัฒน์ กรรมการ การไฟฟ้านครหลวง ระบุว่า การสร้างธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance) ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ 1) People คนในองค์กรต้องเข้าใจและมีผู้นำขับเคลื่อน 2) Priority เห็นเรื่องความเป็นส่วนตัวของข้อมูล (Data Privacy)เป็นเรื่องสำคัญ 3) Budget องค์กรมีงบประมาณให้เหมาะสมกับการทำ Data Governance 4) Executive Buy-In ทำให้ผู้บริหารระดับสูงยอมรับและดำเนินธุรกิจสอดคล้องตามกฎระเบียบต่างๆอย่างเหมาะสม
ดำเนินการอภิปรายโดย คุณรชฎ อิศรางกูร ณ อยุธยา
Former Executive Director, E-Business Strategy
Finansia Syrus Securities Public Company Limited
และอนุกรรมการกลุ่ม Digital Technology Management Group
ในหัวข้อ Digital Ecosystem for Sustainable Transformation
ได้รับเกียรติจาก คุณธีรบูลย์ อริยสุทธิวงค์ CTO/ Co-Founder บริษัท บิลค์ วัน กรุ๊ป จำกัด คุณชาล เจริญพันธ์ ผู้ร่วมก่อตั้ง และ Head of Thailand Accelerator บริษัท เทคซอส มีเดีย จำกัด และ ดร.กษิติธร ภูภราดัย รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) ร่วมแบ่งปันมุมมองด้านการสร้าง Digital Ecosystem ภายในประเทศไทย
คุณธีรบูลย์ กล่าวว่า Digital Ecosystem ส่งผลให้ผลิตภาพ (Productivity) สูงขึ้น และยังส่งเสริมให้โอกาส (Opportunity) เกิดขึ้น เพราะข้อมูลมีการเชื่อมโยงกัน และองค์กรสามารถนำข้อมูลมาต่อยอด และสร้างโอกาส ทั้งนี้ความท้าทายทางด้านดิจิทัลในอดีต คือ การสร้างการรับรู้ (Awareness) แต่ความท้าทายในปัจจุบัน คือ คนมีการรับรู้แล้วแต่จะสามารถสร้างประโยชน์สูงสุดได้อย่างไร
คุณชาล กล่าวว่า ระบบนิเวศต้องมีความหลากหลายเพื่อสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ อย่างไรก็ตามการสร้าง Digital Ecosystem คือการส้รางสมดุลในระบบนิเวศ ทั้งนี้ในปัจจุบันภาครัฐและภาคเอกชนก็ได้มีการร่วมมือและสนับสนุนกันมากขึ้น แต่ความท้าทายของการสร้าง Digital Ecosystem ในประเทศไทย คือ ไม่มีตัวอยย่างให้ศึกษาหรือเปรียบเทียบภายในประเทศ
ดร.กษิติธร ระบุว่า depa สนับสนุนในการสร้าง Digital Ecosytem ทั้งนี้กลุ่มของ SMEs หรือ Startup เอง depa ได้มีการช่วย Srtatup ขยายโอกาสทางการตลาด อีกทั้งยังส่งเสริมเรื่องการพัฒนาคน โดยการสร้างชุมชนเพื่อมีพื้นที่ให้ Startup สามารถสร้าง Network ได้ และการพัฒนาสมรรถนะทางเทคโนโลยี (Tech Capabilities)ผ่านการสร้าง Digital Valley ในเขตพัฒนาพิเศษ EEC
ดำเนินการอภิปรายโดย ดร.ลิสา พัทธ์วิวัฒน์ศิริ
รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ปฏิบัติการและเทคโนโลยีสารสนเทศ บริษัท ไทยกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)
และอนุกรรมการกลุ่ม Digital Technology Management Group