top of page
1654024702209.jpg

Thailand Competitiveness

Center for Competitiveness

It was established by the Thailand Management Association (TMA) to be the center of cooperation between the private sector and the government to develop Thailand's competitiveness. It plays an important role in the development and dissemination of knowledge on the development of the country's competitiveness. Networking and Brainstorming To suggest strategies and work plans to develop the country's competitiveness

​ทั้งนี้ TMA ได้มีบทบาทในการทำให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศมาตั้งแต่ 2540 นับตั้งแต่ TMA ได้เข้าร่วมเป็น Partner Institute กับสถาบัน IMD (International Institute for Management Development) ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อทำการสำรวจขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา TMA ได้ริเริ่มโครงการ Thailand Competitiveness Enhancement Program โดยความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อประสานความร่วมมือของภาคเอกชนกับภาครัฐในการเสนอแนะยุทธศาสตร์และแผนงาน รวมทั้งร่วมผลักดันเพื่อให้เกิดการพัฒนาและเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยมี TMA Center for Competitiveness เป็นหน่วยงานหลักในการประสานและขับเคลื่อนโครงการ

นอกจากนี้ จากการที่รัฐบาลได้กำหนดให้การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์หลักของประเทศ และมีการจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (กพข.) เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์และกำกับดูแลการดำเนินงานเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ TMA Center for Competitiveness ก็ได้เข้าไปมีบทบาทในคณะกรรมการดังกล่าวโดยประธานของศูนย์ฯ ได้ร่วมเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ และเป็นประธานคณะอนุกรรมการด้านการจัดการข้อมูลและสื่อสารประชาสัมพันธ์ ภายใต้คณะกรรมการดังกล่าว

พันธกิจ

  • ทำหน้าที่ในการเชื่อมโยงและประสานการขับเคลื่อนความร่วมมือของภาคเอกชนกับภาครัฐในการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

  • เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนและเผยแพร่ความรู้ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

  • พัฒนาองค์ความรู้และกรอบแนวทางเพื่อผลักดันการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันทั้งในระดับองค์กรและระดับประเทศ

>> ติดตาม Upcoming Event เกี่ยวกับ Thailand Competitiveness 

ได้ที่ https://www.tma.or.th/event-details/thailand-competitiveness-conference-2023

TCC-2023_KV2.png
Mr.Teeranun Srihong_3157.JPG

คุณธีรนันท์ ศรีหงส์
ประธานศูนย์เพื่อการพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน 
สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย

 

การจัดอันดับขีดความสามารถ

ในการแข่งขัน ประจำปี 2566 โดย

IMD World Competitiveness Center

ภาพรวมผลการจัดอันดับระดับโลก

 

ในปี 2566 IMD World Competitiveness Center ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้ทำการจัดอันดับ ความสามารถในการแข่งขันของ 64 เขตเศรษฐกิจทั่วโลก* โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจความเห็นของผู้บริหาร ณ ไตรมาสแรก ปี 2566 และข้อมูลเชิงประจักษ์ (Hard data) ปี 2565 ซึ่งยังคงจัดอันดับโดยประเมินเขตเศรษฐกิจต่าง ๆ ใน 4 ด้าน ได้แก่

1) สมรรถนะทางเศรษฐกิจ (Economic Performance)

2) ประสิทธิภาพของภาครัฐ (Government Efficiency)

3) ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ (Business Efficiency) และ

4) โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure)

 

เมื่อพิจารณาปัจจัย 4 ด้านที่ใช้ในการจัดอันดับ ไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันดีขึ้นจากปีที่แล้วในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น......

 

1) สมรรถนะทางเศรษฐกิจ (Economic Performance): ภาพรวมอันดับดีขึ้นจากปี 2565 ถึง 18 อันดับ มาอยู่ที่อันดับ 16 ในปี 2566 สาเหตุหลักจากปัจจัยย่อยการลงทุนระหว่างประเทศ (International Investment) ที่ไทยอันดับดีขึ้นจากปีก่อนถึง 11 อันดับ และการค้าระหว่างประเทศ (International Trade) ที่ไทยอันดับดีขึ้นถึง 8 อันดับ จากปีก่อน

 

2) ประสิทธิภาพของภาครัฐ (Government Efficiency): อันดับดีขึ้นจากปี 2565 ถึง 7 อันดับ มาอยู่ที่อันดับ 24 ในปี 2566 สาเหตุหลักจากปัจจัยย่อยกรอบการบริหารภาครัฐ (Institutional Framework) และกฎหมายธุรกิจ (Business Legislation) ที่ทั้ง 2 ปัจจัยย่อยนี้ ไทยอันดับดีขึ้นจากปีก่อนถึง 7 อันดับ

x

3) ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ (Business Efficiency): ภาพรวมอันดับดีขึ้นจากปี 2565 ถึง 7 อันดับ มาอยู่ที่อันดับ 23 ในปี 2566 สาเหตุหลักจากปัจจัยย่อยผลิตภาพและประสิทธิภาพ (Productivity & Efficiency) ที่ไทยอันดับดีขึ้นจากปีก่อนถึง 9 อันดับ

 

4) โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure): อันดับดีขึ้น 1 อันดับ จากปี 2565 มาอยู่ที่อันดับ 43 ในปี 2566 สาเหตุหลักจากปัจจัยย่อยโครงสร้างด้านเทคโนโลยี (Technological Infrastructure) ที่ไทยอันดับดีขึ้นจากปีก่อนถึง 9 อันดับ

 

อ่านบทวิเคราะห์ผลการจัดอันดับของ IMD ปี 256ุ6 โดย TMA ได้ที่นี่ :

บทวิเคราะห์การจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ปี 2019-2021 โดยสถาบัน IMD

hand-man-playing-chess-business-planning-comparison-metaphor-selective-focus.jpeg

1. Competitiveness Ranking (การจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขัน)

2019

2020

2021

2022

2023

businessman-hold-panel-global-logistics-network-distribution-transportation-smart-logistic

2. Digital Competitiveness Ranking (การจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล)

2019

2020

2021

2022

Not Avaliable

2023

Not Available
close-up-employee-with-crossed-arms.jpeg

3. Talent Competitiveness Ranking (การจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านทุนมนุษย์)

2019

2020

2022

Contact us

ขอบคุณสำหรับข้อมูล!

bottom of page