top of page

Logistics Asia 2013 - AEC Logistics Best Practices



การพัฒนาด้าน Logistics เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ของการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชนไทย โดยมุ่งเน้นทั้งการเสริมสร้างศักยภาพของอุตสาหกรรมและพัฒนาปัจจัยพื้นฐานที่ประเทศไทยมีความได้เปรียบในการแข่งขัน สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย ได้มีการจัดงานสัมมนา Logistics Asia 2013 – AEC Logistics Best Practices เพื่อเป็นเวทีกลางในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น พร้อมแชร์ประสบการณ์การลงพื้นที่ประกอบธุรกิจต่างแดนในประเทศอาเซียน ทั้งโอกาสและอุปสรรคที่ได้พบเจอให้กับผู้ประกอบการไทย โดยเริ่มจาก รศ.ดร.รุธิร์ พนมยงค์ หัวหน้าสาขาวิชาการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ โลจิสติกส์และการขนส่ง คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ความสำคัญของโลจิสติกมีหน้าที่ในการสนับสนุนความขับเคลื่อน เพื่อให้ไทยมีความสามารถด้านการแข่งขัน จึงเป็นเรื่องที่ภาคราชการจะต้องผลักดันและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเกิดการแข่งขันได้จุดนี้เป็นสิ่งที่ส่งเสริมการแข่งขันของประเทศ ทั้งนี้ยังรวมถึงการเชื่อมโยงเพื่อสนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่มทางด้านเศรษฐกิจให้แข็งแข็งมากขึ้น ทางด้านภาคเอกชนจำเป็นที่ต้องการเข้าถึงการบริการด้านโลจิสติกส์ที่ดีที่จะสนับสนุนผลิตภัณฑ์การบริการให้สามารถแข่งขันได้ แต่สิ่งที่ค้นพบในภูมิภาคอาเซียนคือ ข้อจำกัดประเด็นแรกทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน แต่ละประเทศสมาชิกมีความแตกต่างกันอย่างมหาศาลในเชิงโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งบางประเทศอาจจะไม่มีเลย ประเด็นที่สอง คือ ต้นทุนสูง ไม่ว่าจะเป็นภายในประเทศหรือภายในภูมิภาคอาเซียน ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับโลจิสติกส์มีต้นทุนสูง จนทำให้การเชื่อมโยงระหว่างประเทศสมาชิกนั่นค่อนข้างลำบาก เมื่อต้นทุนสูงผู้ให้บริการก็จะมีน้อย จึงทำให้มีลักษณะของงูกินหาง เพราะฉะนั้นโลจิสติกส์จึงเป็นประเด็นที่สำคัญมาก ทั้งนี้โลจิสติกส์ในเชิงเครือข่ายข้อมูลก็มิควรมองข้าม ต้องศึกษาระบบข้อมูลของแต่ละประเทศด้วย นายพิเชษฐ์ ฉันท์เศรษฐ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยสมเด็จ โลจิสติกส์ จำกัด เจาะลึกสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สังเกตเห็นถึงโครงสร้างพื้นฐานของประเทศลาวที่ได้มีการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น เส้นทางข้ามเขตแดนที่เชื่อมระหว่างจีน-เวียดนาม-ลาว-ไทย คือ หนานหนิง-ปิงเซียง-ฮานอย-วินห์- ท่าแข็ก(ลาว)-นครพนม เริ่มกลายเป็นเส้นทางขนส่งสินค้าที่สั้นกว่าเส้นทางอื่นๆ และจุดที่เป็นหัวสำคัญนั้นคือ ระหว่างด่านเชียงของไปยังบ่อเต็ง ซึ่งจะเป็นเส้นทางที่ออกสู่ประเทศจีน ทั้งนี้ด่านแต่ละด่านจะสะท้อนถึงความต้องการของพื้นที่นั้นๆ ด่านการส่งออกที่นิยมมากที่สุดคือ ด่านทางหนองคาย รองลงมาคือ อุบลราชธานี และมุกดาหาร โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางด้านโลจิสติกส์การนำเข้าและการส่งออกคือ หน่วยงานกรมศุลกากร (กรมศุลฯกับกรรมสรรพาสามิตรวมกัน) หน่วยงานส่งเสริมการลงทุนดูแลเรื่องของภาษีและกระทรวงพาณิชย์ มีหน่วยงานที่ดูแลเรื่องของมาตรฐานต่างๆของสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ นายวรทัศน์ ตันติมงคลสุข กรรมการผู้การ บริษัท โลจิสติกส์วัน จำกัด สาเหตุที่เลือกทำธุรกิจการขนส่งสินค้าในประเทศกัมพูชา เพราะเรื่องของสิทธิประโยชน์ทางภาษี การเชื่อมโยงระหว่างประเทศเพื่อนบ้านยังต่างกันอยู่มาก ไทยถือว่ายังได้เปรียบด้านการขนส่งทางบกมากกว่ากลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน แต่ส่วนตัวยังเล็งเห็นโอกาสในประเทศกัมพูชาเช่นกัน ส่วนลักษณะการขนส่งผู้โดยสารรวมทั้งสินค้าในกัมพูชามักขนส่งผู้โดยสารและสินค้าในอัตราที่เกินกำหนด เนื่องจากไม่มีข้อบังคับในการขนส่งที่แน่นอน เป็นการขนส่งในลักษณะตามใจเจ้าหน้าที่ ส่วนพาหนะที่ใช้ในการขนส่งก็มีการดัดแปลงเพื่อให้บรรทุกได้มากกว่าปกติ แต่ในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนนหมายเลขเดี่ยวในกัมพูชาได้รับการพัฒนาแล้วบางส่วน นายสัญญวิทย์ เศรษฐโภคิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท บลู แอนด์ ไวท์ โลจิสติกส์ จำกัด ศักยภาพของพม่าคือ พรมแดนติดอยู่กับ จีน อินเดีย บังกลาเทศ และไทย ถือเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อกับนานาประเทศได้อย่างมาก แต่ยังติดปัญหาในเรื่องของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมที่ยังไม่ค่อยอำนวยเท่าไหร่ ทั้งนี้ทางพม่าได้มีการเริ่มมองหาพื้นที่สำหรับสร้างสนามบินใหม่ เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้ามากขึ้น นอกจากนี้พม่ายังสนับสนุนให้ญี่ปุ่นจัดตั้งท่าเรือและนิคม ทางตอนใต้ของย่างกุ้ง ซึ่งนักธุรกิจเอกชนของญี่ปุ่นเริ่มเข้าไปลงทุนบ้างแล้ว บวกกับทางประเทศตะวันตกยกเลิกการคว่ำบาตรพม่าและจะมีโครงการลงทุนจากประเทศเหล่านี้เข้าไปในพม่าจำนวนมาก อุปสรรคในประเทศพม่าคือ เรื่องของคนท้องถิ่นระดับพนักงานและแรงงานพูดภาษาอังกฤษได้เล็กน้อย ต้องใช้ล่ามภาษาไทย ซึ่งหายากและค่าจ้างสูง ตลอดจนปัญหาการสื่อสาร จากการแปลภาษไม่เข้าใจ นายวิเชียร จงอภิรมย์สกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด การขนส่งระหว่างไทยกับเวียดนามมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง การส่งออกและนำเข้าสินค้าระหว่างไทยกับเวียดนามส่วนใหญ่เป็นการขนส่งทางทะเล แต่ปัจจุบันทางเวียดนามได้มีการพัฒนาถนนขึ้นมาค่อนข้างมาก เพราะ การขนส่งทางถนนจะมีข้อได้เปรียบด้านเวลา จึงทำให้สินค้าบางประเภทเปลี่ยนมาใช้การขนส่งทางถนนแทนการขนส่งทางทะเล ทำให้ความต้องการขนส่งสินค้าระหว่างไทยและเวียดนามทางถนนมีสูงขึ้น ทั้งนี้ประชากรคนวัยทำงานมีสัดส่วนเพิ่มขี้น ทำให้การอุปโภคบริโภคหลากหลายมีความต้องการสินค้าที่หลากหลายมากขึ้น จึงเป็นโอกาสสำหรับสินค้าไทยที่สามารถสร้างความนิยมได้ นอกจากนี้มีการส่งเสริมการลงทุนจากรัฐบาลเวียดนามตามเขตอุตสาหกรรม เพื่อปรับประเทศจากการเป็นประเทศเกษตรกรรมไปสู่การเป็นฐานการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม ด้าน ดร.ศรายุธ แสงจันทร์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่กลุ่มงานการเงิน บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด ประเทศจีนมีความเจริญก้าวหน้าเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว และการพัฒนาประเทศแบบก้าวกระโดดกำลังเป็นที่จับตามองของทุกผ่ายว่าการเติบโตนี้จะมุ่งไปในทิศทางใด ปัจจุบันถนนทุกสายวิ่งสู่ประเทศจีน ซึ่งขนาดเศรษฐกิจของจีนใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก รองลงมาจาก สหรัฐฯ และมีเงินสำรองมากที่สุดในโลก แต่ปัญหาหลักในปัจจุบันคือ การจัดสรรทรัพยากรไม่เหมาะสม ค่าใช้จ่ายและการลงทุนสูงแต่ประสิทธิภาพต่ำ โครงสร้างเศรษฐกิจไม่สมดุล อุตสาหกรรมบางประเภทมีการผลิตเกินความต้องการ สำหรับตลาดภายในประเทศ ต้องมีเข้าใจถึงพฤติกรรมและคุณลักษณะเฉพาะของผู้บริโภค โครงกสร้างตลาดมีความซับซ้อน การคมนาคมขนส่งมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เนื่องจากระยะทางระหว่างโรงงานและปลายทางลูกค้าค่อนข้างไกล ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยสูงขึ้น สิ่งที่ต้องคำนึงถึงนั่นคือ ความแตกต่างของแต่ละประเทศ ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างพื้นฐาน การจัดการทางด้านแนวความคิด ด้านข้อมูลเอกสารที่ต้องเข้าไปติดต่อ ท้ายสุดการปรับปรุงของแต่ละประเทศที่เป็นอุปสรรอยู่ ใครเป็นผู้มีอิทธิพล เกี่ยวกับด้านคอนเน็คชั่นนั่นคือเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ประการกอบจะต้องศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติม

ดู 33 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page