top of page

'เปลี่ยน' ทางรอดธุรกิจยุคดิจิทัล



'เปลี่ยน' ทางรอดธุรกิจยุคดิจิทัล "บริษัทที่ไม่ปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี มีหนทางเดินเดียวคือก้าวสู่หายนะ" ทอว์ฟิค เจลาสซี่ Professor of Strategy and Technology Management จาก IMD กล่าว พร้อมยกตัวอย่างให้เห็นถึงการทำงานขององค์กรระดับโลกที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลนั้นทรงพลังอย่างไร Amazon ที่รั้งตำแหน่งที่สี่ในฐานะบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วยมูลค่าตลาด 364 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2016 กำลังกวดติด Apple ที่ปัจจุบันมีมูลค่าตลาดสูงสุดเป็นอันดับหนึ่งของโลกที่ 9 พันล้านเหรียญสหรัฐ บริษัทดังกล่าวใช้เวลาเพียงปีกว่าๆ ในการเพิ่มมูลค่าตลาดจาก 364 พันล้านเหรียญสหรัฐ เป็น 799 พันล้านเหรียญสหรัฐ จนสามารถขึ้นเป็นอันดับสองของโลกได้ หลังจากได้เข้าไป disrupt ธุรกิจหลากหลายอุตสาหกรรม ตั้งแต่วงการบันเทิง อสังหาริมทรัพย์ ค้าปลีก การแพทย์ ยา สุขภาพ การเงิน ธนาคาร เดินทางท่องเที่ยว และอื่นๆ ไม่เฉพาะ Amazon เท่านั้น การเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นดิจิทัลยังทำให้บริษัทมากกว่าครึ่งของ 500 บริษัทที่เคยติดอันดับ Fortune สูญหายตายจากไปตั้งแต่ปี 2543 และนี่เพิ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นที่โลกเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างแท้จริง โดยในปี 2016 บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยมูลค่าตลาดห้าอันดับแรกล้วนแล้วแต่เป็นบริษัทที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี ข้อมูล ซึ่งได้แก่ Apple, Alphabet, Microsoft, Amazon และ Facebook ตามลำดับ และจากการสำรวจล่าสุดปีนี้ บริษัททั้ง 5 ก็ยังครองตำแหน่งเดิมยกเว้น Amazon ที่โตแบบทวีคูณ อีกมุมมองจาก คริสทอส คาโบลิส Chief Economist and Head of Operation IMD เปิดเผยว่า ปัจจุบันขีดความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศด้านดิจิทัล ประจำปี 2018 ประเทศไทยอยู่ที่อันดับที่ 30 ของโลก นับว่าดีขึ้นจากปีก่อนหน้าถึง สองอันดับ โดยประเทศไทยมีจุดแข็งทางด้านเทคโนโลยี ทั้งในแง่ของจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟน ที่สูง มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีการส่งออกสินค้าเทคโนโลยีในสัดส่วนที่สูง หรือบริการภาคการเงินและธนาคารที่แข็งแกร่ง อย่างไรก็ดี ประเทศไทยยังมีสิ่งที่ต้องปรับตัวอย่างมาก ก็คือ การเพิ่มทักษะความรู้ ทางด้านดิจิทัลให้กับคนในประเทศ รวมถึง ระบบการศึกษาที่ยังไม่มีคุณภาพ โดย ในส่วนของการเตรียมความพร้อมระบบรัฐบาลดิจิทัลจะต้องเร่งดำเนินการให้เกิดขึ้น โดยเร็ว ในส่วนของผู้นำองค์กรในไทย "พร้อม แค่ไหน?" กับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น กลินท์ สารสิน ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยกล่าวว่า ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ยุคของ Digitize ที่ผ่านมามีภาคเอกชนเป็นผู้ขับเคลื่อน ตอนนี้ภาครัฐเป็นผู้นำ เนื่องจากภาครัฐ มีข้อมูลหลากหลายมากมาย ซึ่งการมีข้อมูลขนาดใหญ่จากหลากหลายช่องทาง แท้จริงแล้ว หากจะสามารถนำข้อมูลใหญ่ ซึ่งมีมูลค่ามหาศาล มา คิด จำแนก แยกแยะ วิเคราะห์ เพื่อกำหนดทิศทางนำไปพัฒนา และยกระดับขีดความสามารถของประเทศได้มากน้อยเพียงใด การนำเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มดิจิทัลมาใช้เพื่อการเข้าถึงบริการต่างๆ การให้บริการของภาครัฐเพื่อรองรับความต้องการของธุรกิจ และประชาชนที่เปลี่ยนแปลงไป ควรมีการวางแผนอย่างชัดเจน เพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุด เพื่อประโยชน์อย่างยั่งยืน "การเข้าสู่ Digital Transformation ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย" ธีรนันท์ ศรีหงส์ ประธานสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) ในฐานะประธานกรรมการคณะกรรมการ กำกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) และรองประธานกรรมการ TMA Center for Competitiveness กล่าว ดิจิทัลได้เพิ่มโอกาสให้ในหลายเรื่อง การเรียนรู้และทำความเข้าใจ เพื่อการเลือกใช้อย่างถูกต้อง ถูกวิธี มีวิชั่นในการใช้ชัดเจน ก็สามารถทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กรได้ ความท้าทายที่สำคัญก็คือ "คน" ต้องเปิดรับเทคโนโลยีใหม่และพร้อมจะ ทำงานร่วมกัน เพื่อบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ยกตัวอย่างเช่น ประเทศเอสโตเนียเป็น ประเทศเล็กๆ ที่นำดิจิทัลมาบริหารประเทศเต็มตัว บริการภาครัฐทุกอย่างอยู่ในระบบออนไลน์,การทำ ธุรกรรมธนาคาร และอื่นๆ สะดวก รวดเร็ว นำพาประสิทธิภาพในการบริหารจัดการประเทศ วรรณพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า ตัวแปรสำคัญในการจะช่วยยกระดับขีดความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศ ทุกภาคส่วนจะต้องเรียนรู้ การพัฒนากำลังคนเพื่อรับมือกับ ความท้าทายในอนาคต การพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในบุคลากรภาครัฐ ภาคเอกชนให้มีความรู้ความสามารถ มีความรู้ ความเข้าใจ ทันสมัย คล่องตัว เกิดความเชี่ยวชาญตามมาตรฐานสากล ไปสู่เป้าหมาย ไทยแลนด์ 4.0 ได้อย่างรวดเร็วตามเป้าหมายที่วางไว้ ในมุมของการพัฒนา SME ไทยกับ การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยยกระดับ พัฒนา - ผลักดันไปยังการค้าออนไลน์ตลาดในประเทศ และต่างประเทศ ด้านกระบวนการผลิตที่นำเอา "เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์" เข้ามามีบทบาท จะช่วยให้รวดเร็ว แม่นยำ ช่วยถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อก้าวสู่มาตรฐานสากล และพาระบบการผลิตสู่เวทีระดับโลก การพัฒนาเกษตรยุคใหม่ให้มีความทันสมัย สะดวก รวดเร็ว จากแบบดั้งเดิม ทั้งขั้นตอนการผลิตและการบริหารจัดการสินค้า ยังมีในเรื่องของการบริการทางด้านดิจิทัล เพื่อเข้าถึงการใช้ชีวิตของผู้บริโภคมากขึ้น สะดวก รวดเร็ว ทันสมัย และ การส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมดิจิทัลและดิจิทัลคอนเทนท์ ร่วมคิด-เร่งขีดความสามารถการแข่งขัน กรุงเทพธุรกิจ ในยุคปัจจุบัน ข้อมูลเป็นสิ่งตัดสินผู้ชนะในการแข่งขันธุรกิจ ข้อมูลดิบมีค่าเหมือนน้ำมันดิบที่ยังไม่ได้นำมากลั่น ข้อมูลที่ได้รับการวิเคราะห์เชิงทำนาย มีค่าเหมือนเหมือนทอง เช่นข้อมูลเกี่ยวกับผู้บริโภคและพฤติกรรม ผู้บริโภค เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงรวดเร็วแบบทวีคูณ จากที่สถาบัน IMD World Competitiveness Center ได้ประเมิน ขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศไทยในปัจจุบันว่า อยู่ในอันดับที่ 30 ของโลก ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทางสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) ได้จัดงานสัมมนา Thailand Competitiveness Conference 2018 ภายใต้คอนเซปต์ Powering Thailand Competitiveness through Digital Transformation เป้าหมายเพื่อกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ในการ พัฒนาขีดความสามารถของประเทศ มุ่งเน้นการปรับตัวของทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยี และแนวทางการนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นเครื่องมือ ในการให้บริการในภาครัฐและสร้าง ความสามารถของภาคธุรกิจในการแข่งขัน ในระดับสากล "ทุกภาคส่วนจะต้องเรียนรู้การพัฒนากำลังคนเพื่อรับมือกับความท้าทายในอนาคต' ปัจจุบันขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้านดิจิทัล ปี 2018 ประเทศไทยอยู่ที่อันดับที่ 30 ของโลก บรรยายใต้ภาพ คริสทอส คาโบลิส ทอว์ฟิค เจลาสซี่ วรรณพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา กรุงเทพธุรกิจ | 19 ก.ค. 2561 | หน้า 23


ดู 9 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page